กักตัวCOVID-19

กักตัวCOVID-19 สิ่งที่ผู้ดูแลอาคารชุดต้องทำเมื่อมีผู้ต้องกักตัวภายในอาคารชุด

เมื่อ COVID-19 เข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ โอกาสที่อาคารชุดของเรา จะต้องรองรับ ผู้ที่ต้องกักตัว เพื่อดูอาการ 14 วันนั้น ก็มีมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งก็แน่นอนว่า ผู้ดูแลอาคารชุดทั่วไป ย่อมไม่มีประสบการณ์ ในการดูแลอาคารชุด ที่ต้องรองรับการ กักตัวCOVID-19 ส่วนผู้อยู่อาศัยเองก็อาจเกิดความกังวลได้ว่า การดูแลสถานที่ของผู้ดูแล ทำได้ครอบคลุมหรือไม่
เพื่อความกระจ่าง และ สบายใจ ของทั้งผู้อาศัย และ ผู้ดูแลสถานที่เอง เรามาดูกันว่า การดูแลสถานที่ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณะสุข เป็นอย่างไรกันบ้าง เพื่อที่ผู้อาศัย จะได้คอยสังเกตุว่า ผู้ดูแลได้ทำตามหลักการอย่างเพียงพอหรือไม่

ข้อปฏิบัติของผู้ดูแลอาคารชุด เมื่อมีผู้ต้อง กักตัวCOVID-19 นาน 14 วัน

1.มีการคัดกรองผู้พักอาศัย โดยปกติแล้ว ผู้ที่เข้าข่ายการกักตัว จะต้องมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจาย หากเกิดกรณีผู้กักตัวเป็นผู้ป่วย จึงควรต้อง ทำการคัดกรอง ผู้พักอาศัยเสมอ ๆ โดยเบื้องต้น สามารถคัดกรอง ด้วยการสังเกตุอาการเบื้องต้น หรือ การใช้เครื่องมือวัดไข้ หากพบว่าผู้พักอาศัยคนใดมีไข้ ( อุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ) ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ หรือ หอบเหนื่อยง่าย ต้องแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรค ซึ่งปกติจะเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ( เจ้าหน้าที่อนามัย ) ในพื้นที่ หรือ แจ้งที่เบอร์โทรศัพท์ 1669 เพื่อประสานการรับตัวไปพบแพทย์ โดยห้ามใช้รถสาธารณะในการเดินทางอย่างเด็ดขาด

2.ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางเป็นประจำทุกวัน พื้นที่ส่วนกลาง เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานร่วมกันของผู้พักอาศัย ดังนั้นจึงมีโอกาส ที่จะเป็นจุดแพร่กระจายเชื้อได้ หากมีการใช้งานต่อเนื่องกัน ดังนั้น จึงควรเพิ่มความถี่ ในการเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามราวบันได ปุ่มกดลิฟท์ ลูกบิดประตู ก็อกน้ำ ตู้จดหมาย เก้าอี้ โต๊ะ ป้ายประชาสัมพันธ์ และ ฟิตเนส โดยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ มีหลายชนิดหลายเกรด ตั้งแต่ใช้น้ำยาฟอกขาว แอลกอฮอลล์ จนไปถึงน้ำยาฆ่าเชื้อระดับ Food grade เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีสารออกฤทธิ์เป็น quaternary ammonium compounds  เป็นต้น ซึ่งผู้ดูแลอาคารชุด สามารถเลือกใช้ได้ ตามงบประมาณที่มีอยู่ แต่ต้องพึงระวังถึงความปลอดภัยในการใช้งานอื่นๆไว้ด้วยเสมอ ทั้งนี้ แม่บ้านประจำตึกเอง ก็ควรต้องระมัดระวังตัว ในการทำความสะอาด และหมั่นล้างมือ รวมทั้งแจ้งผู้ควบคุมทุกครั้ง หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ

3.บริการแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นที่เข้าออก แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดมือฆ่าเชื้อ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบน้ำ ที่ใช้กับขวดสเปรย์ แบบเจล ที่ใช้กับขวดปั๊ม หรือ แม้กระทั่งกระดาษทิชชู่เปียก ที่ชุบแอลกอฮออล์ นอกจากนี้ ยังมีแบบเครื่องอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสได้อีกด้วย โดยแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดมือฆ่าเชื้อ ควรจะมีให้บริการ บริเวณจุดเข้าออกต่าง ๆ ทุกจุด เช่น หน้าลิฟท์ ประตูเข้า – ออกอาคาร พื้นที่ส่วนกลางต่าง ๆ โดยต้องระมัดระวัง ถึงความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ต้องมีความเข้มข้นที่ 70% ตามที่กำหนดไว้ เนื่องจาก จะเป็นความเข้มข้นที่ดีที่สุด สำหรับการฆ่าเชื้อ บ่อยครั้งที่พบว่า แอลกอฮอล์ หรือ เจลฆ่าเชื้อที่เก็บไว้นาน มีความเข้มข้นไม่เพียงพอ เนื่องจาก มีการระเหยของแอลกออฮอล์จากการเก็บรักษาไม่ดี

4.สื่อสารข้อมูลให้ทั่วถึง ผู้ดูแลอาคารชุด ควรจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 รวมทั้งสถานการณ์ของโรค ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้แก่ผู้อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง ยิ่งโดยเฉพาะ เมื่อมีผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน อาศัยอยู่ในอาคาร ผู้ดูแลสถานที่ ยิ่งต้องแจ้งในผู้อยู่อาศัยทราบ เพื่อผู้อยู่อาศัย จะได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานพื้นที่ต่างๆ และ ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม

แม้ว่าผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน อาจจะยังไม่ใช่ผู้ป่วย แต่การกักตัว เกิดจากการที่ผู้ที่ต้องกักตัว มีความเสี่ยงในการสัมผัสโรคเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น ทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในอาคารชุด จึงควรต้องระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น เพราะเราทุกคน ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการช่วยกันควบคุมโรคระบาดในครั้งนี้

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, หนังสือ คู่มือ ดูแลตัวเองสำหรับประชาชน สู้โควิด-19 ไปด้วยกัน โดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

ดีคลีน บริการทำความสะอาดครบวงจร

เพราะเราตั้งใจ ทำให้ทุกวัน…เป็นวันที่ดีสำหรับคุณ

Tel: 061-269-0125

Line: @dklean